ยินดีต้อนรับสู่ โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย 

thzh-CNen

IM1

ข่าวประชาสัมพันธ์

มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

1.แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ  2566

2.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย

3.คำสั่งคณะกรรมการดิจิทัลการแพทย์โรงพยาบาล

4.พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560

5.พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562

6.พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

7.พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2553 

8.พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540


ระบบประเมินมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย 

1  โครงสร้างและบทบาท ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.1  มีการจัดทีมดูแลระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลประกอบด้วยผู้บริหารและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2  มีการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนพัฒนาของโรงพยาบาลโดยมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศไว้อย่างชัดเจน
1.3  มีนโยบายและแผนการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาล
1.4  มีการจัดโครงสร้างและอัตรากำลังของหน่วยงานสารสนเทศของโรงพยาบาลที่เหมาะสม
1.5  มีการกำหนดมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่จำเป็นสอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศหรือมาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐานข้อมูล มาตรฐานรหัสข้อมูล มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัยและความลับของผู้ป่วย มาตรฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานทางกายภาพและสภาพแวดล้อม
2  การจัดการความเสี่ยงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1  มีกระบวนการประเมินและให้คะแนนความเสี่ยงของระบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
2.2  มีแผนจัดการความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดกลยุทธ์โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน
2.3  มีการดำเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยง
2.4  มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยง และวิเคราะห์ผลการประเมิน จัดทำเป็นรายงาน
2.5  มีการนำผลการประเมินการดำเนินการจัดการความเสี่ยงมาปรับแผนการจัดการความเสี่ยงให้ดีขึ้น
3  การจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1  มีการจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบ IT
3.2  มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่อนุญาตให้เฉพาะผู้ที่รับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงเวลาปัจจุบันเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยรายนั้นได้
3.3  มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ป้องกันความลับผู้ป่วยมิให้รั่วไหลทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทาง Social Media ทุกด้าน
3.4  มีการประชาสัมพันธ์นโยบายและระเบียบปฏิบัติให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบ
3.5  มีการตรวจสอบว่าบุคลากรได้รับทราบ เข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
3.6  มีการประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและนำผลการประเมินมาปรับกระบวนการบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติต่อไป
4  การจัดการศักยภาพของทรัพยากรในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1  มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและ Gap Analysis ของทรัพยากรด้าน Hardware, Software, Network, บุคลากร
4.2 มีการจัดทำแผนเพิ่มหรือจัดการศักยภาพของทรัพยากร ด้าน Hardware, Software, Network
4.3  มีการกำหนดสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ที่จำเป็น (Functional Competency) ของบุคลากรด้าน IT ทุกคน ประเมินสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ และจัดทำแผนเพิ่มสมรรถนะรายบุคคล
4.4  มีการดำเนินการตามแผนเพิ่มสมรรถนะและศักยภาพ (Hardware, software, network) และ มีการประเมิน วิเคราะห์ผลการดำเนินตามแผน
4.5  มีการนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงแผนเพิ่มศักยภาพให้ดีขึ้น
5  การจัดการห้อง Data Center
5.1  มีการจัดการ Data Center ของโรงพยาบาลให้มีความมั่นคงปลอดภัย
5.2  ห้อง สถานที่ และสิ่งแวดล้อมต้องจัดให้มีความปลอดภัยจากบุคคลภายนอก
5.3  มีระบบป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ระบบตรวจจับควัน ระบบเตือนภัย เครื่องดับเพลิงและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
5.4  มีระบบป้องกันความเสียหายของข้อมูลและระบบ ซึ่งรวมถึง ระบบไฟฟ้าสำรอง (UPS) ระบบ RAID, Redundant Power supply, Redundant Server
5.5  มีการวิเคราะห์ความเหมาะสม มาตรฐาน ความเสี่ยงและความคุ้มค่าในการเลือกใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย ห้อง Data Center

วิธีปฏิบัติงาน Work Instruction

  • WI-IM-001 แนวทางปฏิบัติการขอใช้งานโปรแกรม HOSxP

  • WI-IM-002 แนวทางปฏิบัติการขอใช้งานอินเตอร์เน็ตโรงพยาบาล

  • WI-IM-003 แนวทางปฏิบัตการขอใช้งานห้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • WI-IM-004 แนวทางปฏิบัติการแจ้งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

  • WI-IM-005 แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ

  • WI-IM-006 แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดอัคคีภัย

  • WI-IM-007 แนวทางปฏิบัติแนวทางปฏิบัติการสำรองข้อมูลและนำข้อมูลสำรองมาใช้

  • WI-IM-008 แนวทางปฏิบัติเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้อง HOSxP มีปัญหา

 แบบฟอร์มขอใชบริการ Internet และ Wi-Fi สําหรบเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย

แบบฟอร์มขอใชบริการ Internet และ Wi Fi สําหรบเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย                          ฟอร์มขอยื่นสิทธ์ใช้โปรแกรม Hosxp

แบบฟอร์มขอยื่นสิทธ์ใช้โปรแกรม Hosxp สําหรบเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย


ภาพกิจกรรม

 

โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพและสารเทศโรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย

อำเภอบ้านด่านลานหอยปีงบประมาณ 2566DMS

ระบบ DMS Telemedicin

Home

ระบบ DMS Home Ward

 

ครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำระบบการจัดเก็บลูกหนี้ของโรงพยาบาลบ้านด่านลานหอยปีงบประมาณ 2566

342624186 196048589884980 2189295244554599676 n342210732 559428519511938 7623460630800644949 n342722616 258254706544726 2921344748099419137 n

ภาพการอบรม โปรแกรม RCM จากทีมโรงพยาบาลชาติตระการ

นายสถาพร อ่อนวัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ประจำ รพ.บ้านด่านลานหอย ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรการใช้งานโปรแกรม hosoffice ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 66 ณ รพ.ศรีสัชนาลัย

339555178 948152053021449 3097426963338143274 n338755049 167283266235752 8829291381207258191 n339410875 131496409761452 9223038095360750991 n

ภาพการอบรม HOSOFFICE ณ.โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย


การดำเนินงานตามนโยบาย Smart Hospital

Digital Transformation
หมายถึง การปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงาน โดยนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ร่วมกับ ระบบสารสนเทศเดิม แบบไร้รอยต่อ ลดเวลา ลดความซ้ำซ้อน สารสนเทศสุขภาพมีคุณภาพ รวดเร็วและปลอดภัยในปี 66 มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยกำหนดเป็นระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน Digital Transformation เพื่อก้าวสู่การเป็น Smart Hospital

1) Smart Place/Infrastructure
          โรงพยาบาลมีการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์การดำเนินงาน GREEN&CLEAN Hospital ของกรมอนามัย และจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม ดูมีความทันสมัย (Digital Look) ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ
2) Smart Tools
          โรงพยาบาลมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้มีความถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ลดความเสี่ยงความผิดพลาดต่างๆ ลดระยะเวลา เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ อาทิ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์อัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการคิว รูปแบบดิจิทัล รูปแบบออนไลน์
3) Smart Services
          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาองค์กรตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย และ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 เช่น การยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการจากผู้รับบริการ  การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การลดระยะเวลารอคอยรับบริการ   การมีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม เป็นต้น
4) Smart Outcome
          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดระบบงานให้มีความเชื่อมโยงกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ โดยเฉพาะระบบหลักของโรงพยาบาล (Core Business Process) เพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่ตอบสนองต่อการบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินการบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง ป้องกันปัญหาการขาดแคลนและความไม่สมดุลด้านทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรในระบบบริการ มีการบริหารจัดการ Unit Cost ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเพื่อเพิ่มคุณภาพระบบบริการ จัดการระยะเวลารอคอยได้อย่างเหมาะสม 
5) Smart Hospital
          โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพในการจัดการ มี Unit Cost ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสามารถเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับหน่วยงานอื่นได้  มีการจัดการและป้องกันความเสี่ยง (Proactive Risk Management) ที่ดีในทุกมิติ เพื่อให้การบริการมีคุณภาพดีในทุกมิติ และมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน อย่างยั่งยืน
S3

S1

S2


แบบสอบถามระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ

ของโรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย

012